.............................กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นควรให้ขยายการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางยิ่งขึ้นสอดคล้องเพียงพอกับความต้องการ
ของประชาชนในชนบท และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่นรวมทั้งก้าวทันการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมส่วนรวมของประเทศ จึงจัดตั้งสถานศึกษาวิชาชีพประเภทวิทยาลัยการอาชีพขึ้น
เพื่อจัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับ และประเภทวิชาที่ขาดแคลนซึ่งเป็นความต้องการของท้องถิ่นรวมทั้งของประเทศ
อันจะเป็นการเสริมสร้าง และพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีคุณภาพในการประกอบอาชีพ
และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล


................................ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม  พ.ศ.  2534 
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพพนมทวน ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่  18  มิถุนายน  2540
วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน ตั้งอยู่ เลขที่  240  หมู่ที่  2  ตำบลหนองโรง    อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
มีเนื้อที่  135  ไร่  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) แผนกช่างยนต์ และแผนกพาณิชย์ 
(บัญชี, คอมพิวเตอร์) โดยเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2541
เป็นต้นไปโดยในอนาคตจะขยายการเรียนการสอนอีกหลาย
แผนกวิชาโดยในส่วนของอาคารเรียนของวิทยาลัย
ที่ใช้ในการเปิดการสอนในปีแรกนี้เป็นอาคารชุดชั่วคราว
ส่วนอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการโรงฝึกงานในแผนการจัดตั้งวิทยาลัย วิทยาลัยจะได้งบประมาณในการดำเนินการแบบเต็มรูปด้วยเงินงบประมาณเป็นเงินประมาณ
160 ล้านบาทในลำดับต่อไปโดยจะเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 นี้เป็นต้นไป


................................อนึ่ง วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน ได้รับการสนับสนุน จากชาวอำเภอพนมทวน เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า
วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน จะเป็นวิทยาลัยที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ส่งเสริมให้การศึกษาด้านอาชีวศึกษาของชาวอำเภอพนมทวนก้าวหน้าไป
ในทางที่ดีขึ้น และนอกจากนี้วิทยาลัยการอาชีพพนมทวนยังได้รับความอนุเคราะห์
และอุปถัมภ์จากพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ(เจ้า-คุณไพบูลย์) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
และคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างตึกอาคารอำนวยการอีกด้วย

มีภาระกิจหลัก ของวิทยาลัยการอาชีพ ดังนี้

    • ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพสู่ท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชนบทของประเทศ ให้เยาวชนที่มีความต้องการเรียนวิชาชีพ ได้มีโอกาสเรียนวิชาชีพได้
    • เพื่อผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพในระดับช่างกึ่งฝีมือช่างฝีมือและช่างเทคนิคสนองต่อตลาดแรงงาน
      และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบ  (หลักสูตร ปวช. ปวส. ปวท. ) 
      และนอกระบบ  (ระยะสั้น)  ทุกประเภทวิชา (ช่างอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  คหกรรม และเกษตรกรรม)